ฟิล์มกรองแสงในโลกนี้มีการพัฒนามาอย่างยาวนานมากกว่า 30 ปี ผู้บริโภคในประเทศไทยจะคุ้นชินกับคำว่าฟิล์มปรอท ในช่วงแรกจนปัจจุบันจะคุ้นชินกับคำว่าฟิล์มเซรามิค เราจะมาทำความเข้าใจประเภทต่างๆ ของฟิล์มกรองแสงประเภทต่างๆ ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน

ฟิล์มกรองแสงเป็นส่วนสำคัญสำหรับรถยนต์ทุกคันที่ต้องมี แล้วไม่สามารถที่จะข้ามไปได้ด้วยประโยชน์ของฟิล์มกรองแสงที่ให้คุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวี การป้องกันความร้อน ให้ความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ขับขี่ และที่สำคัญสามารถช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับรถยนต์ตามรสนิยมของเจ้าของรถได้อีกด้วย แต่ในปัจจุบันฟิล์มกรองแสงมีให้เลือกมากกมายหมายแบรนด์ทั่งแบรนด์ระดับโลกและแบรนด์ของคนไทยเอง นอกจากเลือกค่าความเข้มตามความคุ้นชินของคนไทย เช่น 40%, 60%, 80% เป็นต้น แล้วยังพบว่าราคาของฟิล์มกรองแสงแต่ละชนิดก็มีราคาที่แตกต่างกันแม้แต่ในแบรนด์เดียวกันก็มีหลากหลายรุ่นราคาตั้งแต่หลักพันต้นๆ ถึงหลักหมื่นต้นๆ

มาทำความรู้จักของประเภทของฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสงมีการพัฒนาเทคโลยีมามากกว่า 30 ปี จึงมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลายและใช้วัสดุที่หลากหลายมาเคลือบบนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ( PET ) เพื่อให้ได้คุณสมบัติในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี ตามที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องการ มาดูกันว่าฟิล์มกรองแสงตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันสามารถแบ่งได้ ทั้งหมด 5 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ประเภทที่ 1 Dyed

Dyed หรือฟิล์มย้อมสีเป็นเทคนิคในการผลิตฟิล์มกรองแสงในยุคแรกๆ เพื่อจุดประสงค์คือการนำฟิล์มมาติดกับกระจกเพื่อลดแสงจ้าของแสงแดดเพื่อให้การขับขี่สบายขึ้นในเวลากลางวัน

จุดเด่น

จุดด้อย

ประเภทที่ 2 Carbon

Carbon ในตลาดประเทศไทย ยังไม่ได้มีคำเรียกฟิล์มประเภทนี้อย่างชัดเจน แต่จะบางคนจะเข้าใจว่าคือฟิล์มเซรามิค ฟิล์มประเภทนี้มีการพัฒนาโดยการนำสารคาร์บอนมาเคลือบในชั้นฟิล์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดแสง

จุดเด่น

จุดด้อย

ประเภทที่ 3 Metalized

Metalized หรือฟิล์มที่ใช่ส่วนผสมจากโลหะเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อน ให้กับฟิล์มได้มากกว่าฟิล์ม Carbon และ Dyed โดยมีกระบวนการผลิตที่หลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุดิบหรือโลหะที่นำมาเคลือบลงในชั้นฟิล์มเช่น เทคนิคการระเหยของไอโลหะ และเทคนิคการ Sputtering ที่ใช้กระบวนการทำให้อะตอมของโลหะไปติดกับชั้นฟิล์มผ่านการเหนี่ยวนำของแม่เหล็ก วัตถุดิบที่ได้รับความนิยมมาใช้ในฟิล์มประเภทนี้ได้แก อลูมิเนียม, ทองแดง, ไทเทเนียม, เงิน, และทองคำ ทำให้ฟิล์มกลุ่มนี้มีราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้และกระบวนการผลิตที่จะมีการทับซ้อนชั้นโลหะจำนวนกี่ชั้น

จุดเด่น

จุดด้อย

ประเภทที่ 4 Ceramic

Ceramic หรือฟิล์มเซรามิคได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันจากการพัฒนาของเทคโนโลยีเพื่อหาวัสดุที่มาเคลือบบนชั้นฟิล์มเพื่อการป้องกันความร้อนและไม่บล๊อคสัญญานจากอุปกรณ์ต่างๆที่มีการใช้งานมากขึ้นในรถยนต์เช่นระบบนำทางในรถยนต์ และด้วยเทคโนโลยีได้รับความนิยมจากผู้ผลิตโดยเฉพาะในเอเชีย ทำให้มีการขยายตลาดอย่างรวดเร็วของแบรนด์ต่างๆที่สามารถสร้างแบรนด์ฟิล์มเซรามิคได้ง่าย

จุดเด่น

จุดด้อย

ประเภทที่ 5 Hybrid

Hybrid ฟิล์มไฮบริด คือกลุ่มฟิล์มที่มีการนำฟิล์มประเภทต่างๆ มาผสมทับซ้อนกันหลายชั้นเพื่อเสริมจุดเด่นหรือแก้จุดด้อยของฟิล์มต่าง เช่น

  1. ฟิล์ม Carbon + Metalized เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนของฟิล์ม Metalized แต่ให้มีค่าแสงสว่างสะท้อนน้อยลงและความทนทานที่สูงขึ้นจากชั้น Carbon
  2. ฟิล์ม Metalized + Ceramic เพื่อให้ฟิล์มมีประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนที่สูงขึ้น